พันธมิตร “นาวาลนี” คู่ปรับ “ปูติน” ถูกทำร้ายในลิทัวเนีย!

จากการเสียชีวิตของ อเลกเซ นาวาลนี ผู้นำฝ่ายค้านของรัสเซีย คู่ปรับคนสำคัญของประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ที่ทัณฑนิคมใกล้ขั้วโลกเหนือเมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ยังสร้างความเคลือบแคลงใจให้กับหลายฝ่ายเกี่ยวกับสาเหตุการเสียชีวิตของเขา ว่าเป็นการเสียชีวิตตามธรรมชาติตามที่ทางการรัสเซียชี้แจงหรือไม่ หรือเป็นการฆาตกรรม ล่าสุดผ่านมาเกือบหนึ่งเดือน

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า พันธมิตรคนสำคัญของนาวาลนี ถูกทำร้ายร่างกายโดยบุคคลปริศนา ขณะที่อยู่ในประเทศลิทัวเนีย

คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

รัสเซียเผย สกัดเหตุโจมตีจากกลุ่มหนุนยูเครนเอาไว้ได้

“อเล็กเซ นาวาลนี”ผู้นำฝ่ายค้านรัสเซีย คู่ปรับ "ปูติน" เสียชีวิตในเรือนจำ

ชาวรัสเซียนับพันร่วมพิธีศพ “นาวาลนี” อดีตผู้นำฝ่ายค้านผู้ล่วงลับ

เมื่อวานนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจลิทัวเนียได้เดินทางไปยังบ้านพักของลีโอนิดส์ โวลคอฟ พันธมิตรคนสำคัญของอเลกเซ นาวาลนี ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงวิลนีอุส เมืองหลวงของลิทัวเนีย หลังได้รับแจ้งเหตุว่าโวลคอฟถูกกลุ่มคนปริศนารุมทำร้ายร่างกายขณะที่อยู่บริเวณด้านนอกของตัวบ้าน

คีรา ยามึช โฆษกประจำตัวของอเลกเซ นาวาลนี ได้โพสต์ข้อความผ่านแอปพลิเคชัน X โดยระบุว่า ผู้ก่อเหตุได้ทุบกระจกรถและพ่นแก๊สน้ำตาเข้าตาของโวลคอฟ หลังจากนั้นคนร้ายก็เริ่มทุบเขาด้วยค้อน หลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่ได้นำตัวของลีโอนิดส์ โวลคอฟ ส่งแผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งวิลนีอุส

ภาพถ่ายจากบัญชี X ของอันนา บีริวโควา ภรรยาของโวลคอฟ เผยให้เห็นว่า เขาถูกทำร้ายบริเวณขา ส่วนที่ใบหน้ามีอาการฟกช้ำ รวมถึงรถก็มีร่องรอยของการถูกทุบตามที่โฆษกประจำตัวของอเลกเซ นาวาลนี ได้ระบุไว้

ด้านกิตานัส นาวเซดา ประธานาธิบดีลิทัวเนีย ได้ออกมาระบุว่า การทำร้าย ร่างกายลีโอนิดส์ โวลคอฟ บนแผ่นดินลิทัวเนียถือเป็นการยั่วยุ และที่นี่ไม่มีใครกลัวประธานาธิบดีปูติน

หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า การทำร้ายร่างกายหนึ่งในคนสนิทของผู้นำฝ่ายค้านรัสเซียผู้ล่วงลับ อาจเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีรัสเซียที่จะกำลังเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้

เนื่องจากการโจมตีครั้งนี้เกิดขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง หลังจากลีโอนิดส์ โวลคอฟ ให้สัมภาษณ์พิเศษกับสำนักข่าวรอยเตอร์ส ซึ่งส่วนใหญ่มีเนื้อหาโจมตีประธานาธิบดีปูตินโดยตรง รวมถึงชวนให้ผู้คนลุกขึ้นมาต่อต้านผู้นำรัสเซีย ตอนหนึ่งในบทสัมภาษณ์ดังกล่าว โวลคอฟระบุว่า ผู้นำรัสเซียกำลังอ่อนแอลงและไม่สามารถส่งต่ออำนาจได้ จนกลายเป็นภาพสะท้อนที่ออกมาผ่านสงครามในยูเครนและการเสียชีวิตของอเลกเซ นาวาลนี

โวลคอฟถือเป็นหนึ่งในบุคคลที่รัฐบาลรัสเซียระบุให้เป็นกลุ่มหัวรุนแรง หรือ Extremist และถูกฟ้องร้องให้จำคุกยาวนานหลายปี หากเขาเดินทางกลับเข้ารัสเซียเนื่องจากโวลคอฟเป็นอดีตนักการเมืองรัสเซีย ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าของกลุ่มฝ่ายค้านในการรณรงค์หาเสียงของอเลกเซ นาวาลนีในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2018 อีกทั้งเขายังเป็นประธานมูลนิธิต่อต้านคอร์รัปชั่นจนถึงปี 2023 ที่ผ่านมา ซึ่งหน่วยงานนี้ คอยทำหน้าที่ตรวจสอบและเปิดเผยการทุจริตของเจ้าหน้าที่ระดับสูงรัสเซียในรัฐบาลประธานาธิบดีปูติน

นอกจากนี้ หลังการเสียชีวิตของอเลกเซ นาวาลนีเมื่อเดือนที่แล้ว โวลคอฟได้เรียกร้องให้ชาวรัสเซียจำนวนมาก ออกมาชุมนุมกันเพื่อประท้วงการเลือกตั้ง ก่อนที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีจะเกิดขึ้นในวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม ถึงวันอาทิตย์ที่17 มีนาคมนี้

แม้รัสเซียกำลังจะจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีในอีกไม่กี่วันข้างหน้า แต่ประธานาธิบดีปูตินของรัสเซีย ยังคงไม่เปลี่ยนเป้าหมายในการทำสงครามบนแผ่นดินยูเครน ล่าสุดรัสเซียได้ยิงขีปนาวุธโจมตีแผ่นดินยูเครนในวันที่ยูเครนยังรอคอยความช่วยเหลือจากพันธมิตรสำคัญอย่างสหรัฐฯ ที่ไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณความช่วยเหลือได้ แม้ผ่านมานานหลายเดือนนอกจากนี้ในการให้สัมภาษณ์ล่าสุด ผู้นำรัสเซียออกมาประกาศพร้อมใช้อาวุธนิวเคลียร์อีกรอบ

ปูติน "ขู่" จะใช้นิวเคลียร์อีกครั้ง

ในระหว่างการให้สัมภาษณ์พิเศษกับสถานีโทรทัศน์รอสซิยา วัน ประธานาธิบดีปูตินตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ถามว่า รัสเซียอยู่ในสถานะที่พร้อมสำหรับสงครามนิวเคลียร์หรือไม่หากเกิดขึ้นจริง ซึ่งผู้นำรัสเซียได้ตอบว่า ขีปนาวุธที่ใช้สำหรับการยิงนิวเคลียร์ของรัสเซียอยู่ในสภาพพร้อมใช้เต็มที่ โดยทั้งหมดเป็นขีปนาวุธที่ทันสมัยและได้รับการปรับปรุงแล้ว

นับตั้งแต่รัสเซียเปิดฉากทำสงครามรุกรานยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2022 ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียเคยออกมาข่มขู่ชาติตะวันตกที่ให้การช่วยเหลือยูเครนหลายครั้งว่า จะใช้อาวุธนิวเคลียร์ครั้งแรกก็คือเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2022 หรือ 4 วันหลังการรุกรานยูเครน ครั้งสุดท้ายก่อนขู่เมื่อคืนนี้คือ เมื่อวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมาหลังจากประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศสออกมาประกาศว่า จะไม่ตัดความเป็นไปได้ในการส่งทหารเข้าไปช่วยรบในยูเครน

ในระหว่างการแถลงสุนทรพจน์ State of the Nation ประจำปีต่อรัฐสภา ประธานาธิบดีปูตินประกาศว่า หากชาติพันธมิตรนาโตส่งทหารเข้าไปช่วยกองทัพยูเครนรบ ผลที่ตามมาจะเป็นในระดับโศกนาฏกรรม และนำไปสู่ความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามนิวเคลียร์ พร้อมระบุว่า ชาติตะวันตกต้องตระหนักว่ารัสเซียก็มีศักยภาพในการโจมตีเข้าไปยังเป้าหมายในพรมแดนนาโตได้ เช่นกัน ปัจจุบันรัสเซียเป็นประเทศที่ครอบครองหัวรบนิวเคลียร์มากที่สุดในโลก

ข้อมูลล่าสุดในปี 2023 สหพันธ์นักวิทยาศาสตร์อเมริกัน หรือ FAS รายงานว่า ปัจจุบันทั่วโลกมีหัวรบนิวเคลียร์อยู่ประมาณ 12,500 หัว ทั้งหมดนี้ถือครองโดย 9 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส รัสเซีย อิสราเอล ปากีสถาน อินเดีย จีน และเกาหลีเหนือ ประเทศที่ถือครองหัวรบนิวเคลียร์มากที่สุดในเวลานี้ คือ รัสเซียซึ่งถือครองมากกว่า 5,889 หัว หรือประมาณร้อยละ 47 ของจำนวนหัวรบนิวเคลียร์ทั้งหมดที่มีบนโลก

จำนวน 1,649 หัว หรือ ร้อยละ 27 เป็นอาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธศาสตร์ หรือ Strategic Nuclear ซึ่งมีศักยภาพในการโจมตีไปยังเป้าหมายระยะไกลอย่างดินแดนของฝ่ายศัตรู

รัสเซียโจมตีบ้านเกิดผู้นำยูเครน

 พันธมิตร “นาวาลนี” คู่ปรับ “ปูติน” ถูกทำร้ายในลิทัวเนีย!

เมื่อวานที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น เซอร์ฮีย์ ลีซัค ผู้ว่าการแคว้นดนีโปรเปตรอฟสก์ รายงานว่า รัสเซียได้ยิงขีปนาวุธโจมตีอาคารอะพาร์ตเมนต์สองหลังในเมืองครีวิ ริฮ์ พื้นที่ทางตอนกลางของยูเครนและบ้านเกิดของโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครนผลจากการโจมตีทำให้มีประชาชนเสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 3 ราย บาดเจ็บอีกกว่า 30 ราย ในจำนวนนี้มีผู้บาดเจ็บสาหัสรวมอยู่ด้วยหลายราย

หลังจากเกิดเหตุ ประธานาธิบดีเซเลนสกีของยูเครน ได้แถลงผ่านคลิปวิดีโอแสดงความเสียใจกับผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมกับขอบคุณสหรัฐฯ สำหรับความช่วยเหลือชุดใหม่ที่กำลังจะเดินทางมาถึง

ประเด็นการส่งมอบความช่วยเหลือชุดล่าสุดได้รับการยืนยันเมื่อคืนที่ผ่านมาโดยเจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ เมื่อคืนที่ผ่ามา เขาได้ออกมาแถลงข่าวโดยระบุว่า สหรัฐฯ จะส่งมอบความช่วยเหลือด้านอาวุธแบบฉุกเฉินให้แก่ยูเครน คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1 หมื่นล้านบาท อาวุธที่จะถูกส่งไปกับความช่วยเหลือชุดนี้ จะประกอบไปด้วย กระสุนปืนใหญ่ ระบบจรวดนำวิถี GMLRS สำหรับระบบไฮมาร์ส

นอกจากอาวุธที่ปรากฏในรายการดังกล่าว สำนักข่าวบางสำนัก เช่น โพลิติโกหรือเดอะวอลสตรีทเจอร์นัล ระบุว่า ความช่วยเหลือชุดนี้อาจมีระบบขีปนาวุธทางยุทธวิธีกองทัพบก หรือ ATACMS รวมอยู่ด้วย โดยเป็นการส่งแบบไม่มีการระบุไว้ในรายการแบบที่สหรัฐฯ เคยทำก่อนหน้านี้ ATACMS เป็นขีปนาวุธพิสัยไกล มีพิสัยทำการได้ไกล 300 กิโลเมตร สามารถยิงได้ครั้งละ 1 ลูก เมื่อใช้ระบบไฮมาร์ส (HIMARS) เป็นเครื่องยิง พิสัยทำการที่ไกลเช่นนี้ สามารถทำให้ยูเครนสามารถโจมตีบางเป้าหมายที่อยู่ไกลออกไปได้ เช่น พื้นที่บนคาบสมุทรไครเมียหรือสะพานเคียร์ช ที่เชื่อมระหว่างแผ่นดินใหญ่ของรัสเซียกับคาบสมุทรไครเมียของยูเครนที่ถูกยึดครองตั้งแต่เมื่อปี 2014

สหรัฐฯ ดีลลดต้นทุนกลาโหมหางบช่วยยูเครน

คำถามสำคัญคือ สหรัฐฯ ส่งอาวุธช่วยเหลือยูเครนได้อย่างไร ท่ามกลางร่างกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติที่มีความช่วยเหลือยูเครนมูลค่ามหาศาลรวมอยู่ด้วย ยังไม่ผ่านสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ

ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ระบุว่า งบประมาณมูลค่า 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นี้ เกิดขึ้นจากการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และผู้ผลิตอาวุธในประเทศ เพื่อประหยัดต้นทุนในสัญญาผลิตอาวุธของกระทรวงกลาโหม

ทั้งนี้ ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ ย้ำว่า อาวุธชุดนี้จะช่วยยูเครนได้แค่ในระยะสั้นๆ เท่านั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ สภาคองเกรสต้องผ่านร่างงบประมาณที่คงค้างอยู่ในสภา

ตอนนี้ร่างกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติยังคงรอการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ อยู่ ซึ่ง ไมค์ จอห์นสัน ประธานสภาผู้แทนราษฎรจากพรรครีพับลิกัน ยังไม่บรรจุเรื่องนี้เข้าสู่วาระเพื่อให้สส.ลงมติ

สส.สภาล่างพยายามโหวตผ่านงบโดยไม่รอประธานสภา

หลายฝ่ายวิเคราะห์ว่า นี่เป็นหนึ่งในแผนของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ต้องการขัดขวางแผนการช่วยเหลือยูเครนของรัฐบาลสหรัฐฯ จนกว่าจะมั่นใจได้ว่า เขาจะมีโอกาสชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีในศึกการเลือกตั้งปลายปี 2024 นี้

อย่างไรก็ดี สำนักข่าวซีบีเอส ของสหรัฐฯ รายงานว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเดโมแครต ได้ยื่นและรวบรวมรายชื่อเพื่อทำสิ่งที่เรีกยว่า discharge petition หรือ กฎการปลดประจำการตั้งแต่เมื่อวานนี้ discharge petition โดยทั่วไปเป็นขั้นตอนเดียวที่สมาชิกสภาสามารถพิจารณาร่างกฎหมายได้ โดยไม่ต้องได้รับความร่วมมือหรืออนุญาตจากประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยต้องมีเสียงเห็นชอบ 218 เสียงขึ้นไปเพื่อทำกระบวนการนี้

ตอนนี้ สำนักข่าว CBS ระบุว่า ผู้แทนของสส.จากทั้งเดโมแครตและรีพับลิกันได้เริ่มกระบวนการนี้แล้ว โดยพรรคเดโมแครตมีคะแนนเสียงอยู่ที่ 213 เสียง และต้องการเสียงจากพรรครีพับริกันอีกเพียง 5 เสียงเท่านั้น

คำถามต่อไปคือ กระบวนการนี้มีโอกาสสำเร็จหรือไม่ นักวิเคราะห์มองว่าค่อนข้างเป็นไปได้ยาก เนื่องจากแม้ว่า สส.ของพรรครีพับลิกันจะเห็นด้วยกับการมอบความช่วยเหลือให้ยูเครน แต่มีความเป็นไปได้ว่าจะไม่ร่วมมือกับสส.เดโมแครต เพราะกำลังเข้าสู่ช่วงเลือกตั้งใหญ่ปลายปีและต้องมีผลงาน

เปิดสถิติ อาร์เซน่อล ทะลุ 8 ทีม ยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีก สิ้นสุดการรอคอยรอบ 14 ปี

"เอฟ นนท์พัฒน์" เสียชีวิตอย่างสงบด้วยโรคมะเร็งในวัย 47 ปี

ทีมทนายความยัน ศาลไม่มีการออกหมายเรียก-หมายจับ “บิ๊กโจ๊ก”

You May Also Like

More From Author